วันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เครื่องเรือนที่ทำด้วยโลหะ


  เครื่องเรือนที่ทำด้วยโลหะ
       วัสดุจำพวกโลหะมีคุณสมบัติแข็ง  ขัดเงาขึ้นแวววาว  นำความร้อนได้ดี  ในสมัยโบราณมีการทำเครื่องมือเครื่องใช้โดยใช้เนื้อโลหะบริสุทธิ์  เช่น  เงิน  ทองคำ  ทองแดง  ต่อมามีการพัฒนาเป็นพวกโลหะผสม  ซึ่งทำให้มีความเหมาะสมในการใช้ประโยชน์ยิ่งขึ้น  โลหะที่ทำเครื่องใช้ในบ้านของเรา  มีดังต่อไปนี้
 
  1.  เหล็ก  เครื่องเรือนเครื่องใช้ที่ทำด้วยเหล็ก  เช่น  มีด  จอบ  เสียม  และอุปกรณ์ทำความสะอาดบ้านอื่น    มีวิธีดูแลรักษา  ดังนี้


·       ใช้งานให้เหมาะสมกับประเภทของเครื่องมือ  เช่น  มีดสำหรับสับเนื้อ  ไม่ควรนำไปฟันไม้  เป็นต้น
·       หลังจากใช้แล้วรีบทำความสะอาดทันที  โดยใช้น้ำสบู่ล้างออกจนสะอาด  หากสกปรกมากให้ใช้ฝอยขัดหรือแปรงขัด  แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด  เช็ดให้แห้ง
·       ควรทาน้ำมันเคลือบเป็นครั้งคราวเพื่อป้องกันสนิม
·       อย่าปล่อยให้เครื่องใช้ที่เป็นเหล็กถูกน้ำนาน ๆ หรือแช่น้ำนาน ๆ เพราะจะทำให้เป็นสนิม  ถ้ามีสนิมขึ้น  ให้ใช้ฝอยขัดสนิมให้หมด  เช็ดให้แห้ง  ใช้น้ำมันทากันสนิม แล้วเก็บเข้าที่
การเก็บรักษา
           เครื่องใช้ที่ทำด้วยเหล็ก  เมื่อทำความสะอาดแล้วควรเก็บใส่ซอง  ปลอก  หรือเก็บไว้ในตู้ที่มิดชิด  ไม่วางไว้ในที่ลมพัดผ่าน  เพราะความชื้นจะทำให้เกิดสนิม

2.  เครื่องเงิน             เครื่องเรือนเครื่องใช้ที่ทำด้วยโลหะเงิน  เช่น  ชุดน้ำชา  ขันเงิน  พาน  โดยธรรมชาติของเครื่องเงิน  ถ้าถูกอากาศจะเกิดปฏิกิริยา  ทำให้เครื่องเงินหมองคล้ำ  การดูแลรักษาควรปฏิบัติ  ดังนี้


·       ใช้แล้วเก็บใส่ถุงพลาสติกทันที
·       ล้างด้วยน้ำยาขัดเงินโดยเฉพาะ  หรือน้ำมะนาวผสมสบู่  ขัดให้สะอาด แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
·       ใช้น้ำอุ่นผสมสบู่ล้าง  แล้วขัดให้สะอาด
·       ห้ามใช้ใยขัดโลหะ  หรือฝอยขัดหม้อขัดเครื่องเงิน  เพราะอาจทำให้เป็นรอยขีดข่วน  และสึกหรอได้
การเก็บรักษา
               เครื่องเงินที่นำมาใช้ เมื่อทำความสะอาดแล้วควรเก็บใส่ถุง  ใส่กล่อง  แล้วนำเก็บเข้าตู้ไม่ให้ถูกอากาศ

3.  อะลูมิเนียม          เป็นโลหะชนิดหนึ่งที่มีน้ำหนักเบา  ไม่เป็นสนิม  จัดทำรูปทรงต่าง ๆ ได้ง่าย  มักนำมาทำภาชนะเครื่องใช้  เช่น  หม้อ  กระทะ  ทัพพี  ถาด  ขันน้ำ  มีวิธีดูแลรักษาดังนี้



·       ใช้ฝอยขัดหม้อหรือแผ่นขัด  ขัดให้สะอาด  แล้วล้างด้วยน้ำสบู่อ่อน ๆ ห้ามใช้สารเคมีที่เป็นกรดอย่างเข้มข้นขัด
·       รอยไหม้บนอะลูมิเนียม  ห้ามใช้ไม้หรือเหล็กแคะ  ให้ต้มด้วยน้ำผสมเกลือให้เดือด  รอยไหม้จะกะเทาะออกไปเอง  หรือใช้ฝอยขัดหม้อขัด  แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
การเก็บรักษา
      เมื่อทำความสะอาดแล้ว  ใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง  เก็บไว้ในตู้เก็บภาชนะเครื่องใช้

4.  เครื่องแสตนเลส   มีคุณสมบัติพิเศษ  คือ  ทนความร้อนได้ดี  ทนทานต่อความกัดกร่อน  สามารถทำเป็นรูปทรงต่าง ๆ ได้สะดวก  ไม่เป็นสนิม  และดูแลรักษาง่าย  นิยมใช้ทำภาชนะหุงต้ม  ภาชนะในการรับประทานอาหาร  อุปกรณ์ทำความสะอาด  เช่น  อ่างล้างชาม  เป็นต้น


วิธีดูแลรักษา        
        ใช้ฟองน้ำชุบน้ำผสมผงซักฟอก  หรือ  น้ำยาล้างจานขัดถูให้สะอาดคว่ำไว้  แล้วใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง
การเก็บรักษา   เมื่อทำความสะอาดแล้วเช็ดให้แห้งแล้ว  นำไปเก็บไว้ในตู้เก็บภาชนะเครื่องใช้

เครื่องเรือนที่เป็นแก้วหรือกระจก
         เครื่องเรือนเครื่องใช้ในบ้านที่เป็นแก้วหรือกระจก มีมากมายหลายชนิด  เช่น แก้วน้ำ
รูปทรงต่าง ๆ จาน ชาม ถ้วย ถาด กระจกเงา โต๊ะกระจก แจกันโคมไฟแขวนประดับ เป็นต้น  ซึ่งอาจทำจากแก้วเรียบ ๆ ธรรมดา  หรือมีการแกะสลัก  เจียระไนระบายสีให้เกิดลวดลายที่งดงามก็ได้  เครื่องแก้วเหล่านี้มีคุณสมบัติที่ดี คือ ดูแลทำความสะอาดได้ง่ายแต่มีข้อเสีย คือ มีความเปราะบาง แตกหักง่าย  
     ดังนั้นจึงต้องรู้จักใช้และระวังรักษาไม่ให้เกิดรอยร้าว  เพื่อให้ใช้งานได้ยาวนาน
เมื่อล้างเครื่องแก้วสะอาดดีแล้ว  ควรเก็บใส่กล่อง ใช้กระดาษหรือเศษผ้าวางคั่นทีละใบกันกระแทก  ถ้าเป็นแก้วไม่ควรวางซ้อนกัน  จะดึงออกยาก  และทำให้แตกได้
เครื่องเรือนที่ทำด้วยพลาสติก



ที่มา http://group.wunjun.com

การดูแลเครื่องเรือนที่ทำด้วยหนัง


 เครื่องเรือนที่ทำด้วยหนัง
        เครื่องเรือนที่ทำจากหนังมี   แบบ  คือ  แบบหนังเรียบธรรมดา  และแบบหนังกลับ  ใช้ทำชุดรับแขก  กระเป๋า  รองเท้า  เข็มขัด  มีวิธีดูแลรักษาตามชนิดของเครื่องหนัง  ดังนี้


1.  เครื่องหนังธรรมดา       ให้ทำความสะอาดด้วยการใช้แปรงอ่อน ๆ ปัดฝุ่น  หรือสิ่งสกปรกออกให้หมดก่อน  แล้วใช้เศษผ้า  ฟองน้ำ  หรือแปรงขัดหนัง  ขัดให้ทั่ว  ต่อจากนั้นให้เช็ดออกด้วยผ้านุ่ม  ทิ้งไว้ให้แห้งแล้วเก็บเข้าที่

2.  หนังกลับ         ทำความสะอาดด้วยการปัดฝุ่นละออง โดยใช้แปรงปัดฝุ่นให้ชนลู่ไปทางเดียวกันเพื่อให้สวยงาม  และระวังอย่าให้ถูกความชื้นและความร้อน  เพราะจะทำให้เสียรูปทรง
การเก็บรักษา
        เมื่อทำความสะอาดแล้วควรเก็บใส่กล่อง  ถุงผ้า  หรือเก็บไว้ในตู้






พรรณไม้ต่างๆ

พรรณไม้
พรรณไม้ที่ควรปลูกในพื้นที่ขนาดเล็ก
                                                                                                                              คล้าใบ


                                                                                                                         เฟิร์นใบมะขาม


                                                                                                                 คุณนายตื่นสาย



                                                                                                                          โฮย่า



พรรณไม้ยืนต้น
                                                                             หูกวาง



                                                                          หลิวทอง


                                                                           หูกระจง



                                                                            อโศกน้ำ


                                                                            อโศกพวง



                                                                    อโศกเหลือง





พรรณไม้พุ่ม
                                                                            คล้า



                                                                        เข็มอินเดีย


                                                                       ช้องนาง


                                                                           ดาหลา


                                                                                 เทียนบ้าน



ที่มา http://www.tonmaibaiya.com




การดูแลต้นไม้และองค์ประกอบทางศิลป์




การให้น้ำต้นไม้
ควรให้อย่างสม่ำเสมอ โดยควรให้ในช่วงเช้าหรือเย็นที่มีแสงแดดอ่อน ๆ เพื่อให้ต้นไม้ใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ ไม่ควรให้ช่วงเที่ยงหรือบ่ายที่แดดจัด เพราะอาจทำให้ต้นเล็ก ๆ ตายได้
การใส่ปุ๋ยสนามหญ้า
        ในการจัดสวน ปุ๋ยเป็นสิ่งจำเป็นในการเจริญเติบโต จะทำให้สนามหญ้ามีสีเขียวสวยงาม หากขาดปุ๋ย หญ้าก็มีใบสีเหลือง ต้นหญ้าจะแคระแกร็น ปุ๋ยที่ใช้ควรใส่ธาตุอาหาร N-P-K หรือเท่ากับ 3-1-2 หรือ         สูตร 30-10-20  โดยใส่ 1-2 เดือน/ครั้ง โดยการหว่านหรือละลายน้ำรด ควรให้อย่างสม่ำเสมอทั่วสนาม หลังให้ควรรดน้ำตาม เพื่อล้างปุ๋ยที่ติดอยู่ที่ใบของหญ้า เพื่อป้องกันไม่ได้เกิดรอยไหม้








องค์ประกอบทางศิลปะที่ช่วยสร้างรูปลักษณ์ของสวนให้เกิดจุดเด่นสวยงาม
       - ความสมดุล การจัดสวนแบบประดิษฐ์มักใช้ความสมดุลแบบสมมาตร คือทำเหมือนกันทั้งซ้าย-ขวาหน้า-หลัง  ส่วนการจัดสวนแบบธรรมชาติ อาจใช้ความสมดุลของน้ำหนัก การจัดวางองค์ประกอบในสวน
       -สัดส่วนและจังหวะ การจัดสวนที่ดีความอาศัยความสมดุล สัดส่วน ปริมาณ ต้นไม้ที่เหมาะสม
       -ความกลมกลืนและความขัดแย้ง ความกลมกลืน” จะช่วยให้เกิดความเป็นเอกภาพ ซึ่งความเป็นเอกภาพจะช่วยสร้างจุดเด่นขึ้นมา อย่างเราปลูกไม้คลุมดินสีขาวเป็นกลุ่มใหญ่ก็จะกลายเป็นจุดเด่น แต่หากเรานำโอ่งดินเผาวางลงไปในแปลง สีขาวของไม้คลุมดินจะตัดกับสีน้ำตาลของโอ่งดินเผา ลักษณะเช่นนี้เราเรียกว่าการสร้าง ความขัดแย้ง” ความขัดแย้งดังกล่าวช่วยสร้างให้โอ่งดินเผาดูเด่นขึ้นมาและเพิ่มความน่าสนใจมากขึ้น เราสามารถสร้างความขัดแย้งได้หลายวิธี เช่น ขัดแย้งด้วยสี ด้วยผิวด้วยขนาด ด้วยทิศทาง ฯลฯ
       -สีและผิวสัมผัส การใช้สีช่วยให้เกิดความหลากหลายและสวยงาม เหมือนการระบายสีรูปภาพบนกระดาษ นอกจากสีของดอกไม้ใบไม้แล้ว อาจใช้สีของวัสดุแต่งสวนเพื่อสร้างจุดเด่นให้สวน ส่วนความ
หยาบละเอียดของใบไม้แต่ละชนิดก็คือผิวสัมผัส ซึ่งทำให้เกิดความขัดแย้ง เช่น ใบไม้ขนาดใหญ่กับใบเล็กละเอียดความแตกต่างตรงนี้คือจุดเด่นนั่นเอง

การถนอมอาหารโดยทำแยมและการรมควัน


 5. การทำแยม 
การทำแยม เป็นการต้มเนื้อผลไม้ปนกับน้ำตาลด้วยไฟอ่อนในระยะแรก แล้วค่อย ๆ เพิ่มไฟขึ้นทีละน้อย หมั่นคนสม่ำเสมอ จนกระทั่งแยมเหนียวตามต้องการ กล่าวคือ เมื่อใช้ช้อนตักขึ้นแล้ว


      6. การรมควัน
 การรมควันเป็นการถนอมอาหารที่ต่างไปจากการ ตากแห้งธรรมดา นอกจากจะทำให้อาหารแห้งแล้ว ยังช่วยรักษาให้อาหารเก็บได้นาน มีกลิ่นหอมและรสชาติแปลกซึ่งเป็นที่นิยมกันมาก การรมควันที่สามารถทำได้ในครอบครัวจะเป็นแบบธรรมชาติิโดยการสุมไฟด้วยไม้กาบมะพร้าว ขี้เลื่อย ซางข้าวโพด ให้แขวนอาหารไว้เหนือกองไฟใช้ไฟอ่อนๆเพื่อให้รมควันอาหารไปพร้อมกับไอร้อนจะช่วยทำให้อาหารแห้งเร็ว เช่น รมควันปลา เป็นต้น


      วิธีถนอมอาหารต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว ล้วนเป็นภูมิปัญญาไทยที่ทุกครัวเรือนสามารถทำเองได้ และช่วยสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวอีกด้วย

ที่มา  http://signuphowto.blogspot.com

การถนอมอาหารโดยการเชื่อม และ การกวน



 การถนอมอาหารโดยการเชื่อม

        การเชื่อมและการกวนเป็นวิธีถนอมอาหารโดยอาศัยสารน้ำตาลป้องกันไม่ให้อาหารนั้น เกิดการเปลี่ยนแปลงบูดเน่าเสียหาย

การถนอมอาหารโดยการเชื่อม วิธี ดังนี้ 

        3.1 การเชื่อมแบบธรรมดา อาจเคี่ยวจนน้ำเชื่อมข้นเหนียว น้ำเชื่อมแทรกซึมเข้าในเนื้อของสิ่งที่เชื่อมแล้วใช้น้ำเชื่อมที่เหลือแช่หล่อไว้อีกชั้นหนึ่ง เช่น กล้วยเชื่อม สาเกเชื่อม ลูกตาลเชื่อม ขนุนเชื่อม เป็นต้น หรืออาจเคี่ยวต่อไปจนน้ำเชื่อมแก่จัด เมื่อเย็นลงจะแห้งและแข็งตัว



        3.2 การถนอมอาหารด้วยการแช่อิ่ม  เป็นการถนอมอาหารโดยใช้น้ำตาลปริมาณมาก คือ นำอาหารมาแช่ในน้ำเชื่อม และเปลี่ยนเพิ่มความเข้มข้นจนถึงจุดอิ่มตัวแล้วนำมาทำแห้ง มักใช้กับผลไม้ที่มีรสขม รสขื่น หรือรสเปรี้ยวจัด ทำให้สิ่งนั้นรสจืดลงเสียก่อนโดยวิธีต่าง ๆ เช่น แช่น้ำเกลือ แช่น้ำปูน แช่สารส้ม เป็นต้น  ผลไม้ที่นิยมนำมาแช่อิ่ม เช่น มะม่วง มะขาม มะกอก มะยม เป็นต้น




         4.การถนอมอาหารด้วยวิธีการกวน คือ การที่นำเนื้อผลไม้ที่สุกแล้วผสมกับน้ำตาลโดยใช้ความร้อนเพื่อกวนผสมให้กลมกลืนกันโดยมีรสหวานและให้เข้มข้นขึ้น              
การใส่น้ำตาลในการกวนมี  วิธี คือ ใส่น้ำตาลแต่น้อยใช้กวนผลไม้ เพื่อทำแยม เยลลี่ เป็นต้น และการกวนโดยใช้ปริมาณน้ำตาลมาก เช่น การกวนผลไม้แบบแห้ง เช่น กล้วยกวน สับปะรดกวน ทุเรียนกวน เป็นต้น


การถนอมอาหารโดยการตากแห้งและการดอง


การถนอมอาหาร

        วิธีการถนอมอาหารมีมาตั้งแต่สมัยโบราณที่เกิดจากภูมิปัญญาไทย การถนอมอาหารช่วยให้สามารถเก็บอาหารไว้บริโภคได้เป็นเวลานาน โดยที่อาหารนั้นไม่สูญเสียคุณภาพ ซึ่งวิธีการถนอมอาหารมีหลายวิธีสามารถทำได้เองและง่ายมาก ซึ่งเรามาดูวิธีถนอมอาหารกันดีกว่าคะ

วิธีถนอมอาหารมีดังนี้

1. การถนอมอาหารโดยตากแห้ง
        การถนอมอาหารโดยตากแห้งเป็นวิธีที่ง่ายและประหยัดมากที่สุด ใช้ได้กับอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ เป็นวิธีที่ทำให้อาหารหมดความชื้นหรือมีความชื้นอยู่เพียงเล็กน้อย เพื่อไม่ให้จุลินทรีย์สามารถเกาะอาศัยและเจริญเติบโตได้ ทำให้อาหารไม่เกิดการบูดเน่า โดยการนำน้ำหรือความชื้นออกจากอาหารให้มากที่สุด เช่น เนื้อเค็ม ปลาเค็ม กล้วยตาก เป็นต้น
      
       ก่อนตากแห้งจะต้องล้างให้สะอาด ถ้าเป็นพวกผักมักลวกด้วยน้ำเดือดเสียก่อน ทำให้หยุดยั้งปฏิกิริยาเคมี บางรายนิยมนำเอาผลไม้ไปรมควันกำมะถันอ่อน ๆ ก่อนที่จะตากแห้ง ซึ่งจะช่วยให้มีสีและรสดีขึ้น ทั้งยังป้องกันไม่ให้เกิดรสเปรี้ยวและช่วยกันไม่ให้แมลงกัดกินอีกด้วย อาหารที่นิยมถนอมโดยการตากแห้ง มักเป็นประเภทผัก ผลไม้ และเนื้อ เช่นดีปลี พริก (พริกไทย) เห็ดบางชนิด (เช่น เห็ดแครงที่ขึ้นตามต้นไม้มะขามที่ล้มตาย เป็นต้น) หมากแห้ง (ฝานก่อนตาม) กล้วยตาก (กล้วยสุกปอกเปลือกแล้วตากแห้ง) ลูกหยี (ปอกเปลือกแล้วตากแห้ง) ส้มแขก (ผลไม้ชนิดหนึ่ง ผลกลม หั่นเป็นชิ้นบาง ๆ แล้วตากแห้ง ใช้ในการปรุงอาหาร) เนื้อเค็ม ปลาเค็ม เป็นต้น
        
       การตากแห้งอาหารประเภทเนื้อ มักใช้เกลือช่วยเพื่อกันการบูดเน่า และช่วยให้มีรสชาติดีขึ้น เช่น หอยตาก (หอยน้ำจืดชนิดหนึ่งคล้ายหอยแครงแต่ขนาดเล็กว่า ชอบอยู่ในทะเลสาบ อาจลวกให้สุกด้วยน้ำเกลือที่ร้อนจัด หรือคลุกเกลือแล้วตากแดด โดยมากนิยมใช้วิธีหลังจึงเรียกหอยชนิดนี้ตามกรรมวิธีที่นิยมนั้นว่าหอยตาก) ปลาริ้ว (ปลาช่อนตัวโต ๆ ที่นำมาผ่าเป็นริ้ว ๆ แล้วตากแห้ง) ปลาแห้ง (ปลาเกลือ) เนื้อแห้ง (เนื้อเค็ม) เคย (กะปิ) บางชนิดต้มให้สุกเสียก่อนแล้วนำมาตากแห้ง เช่น สารกุ้ง (กุ้งแห้ง) ข้าวเกรียบกุ้ง ข้าวเกรียบปลา เป็นต้น





  2.การถนอมอาหารโดยการดอง
        การถนอมอาหารโดยการดอง โดยใช้จุลินทรีย์บางชนิดที่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ โดยจุลินทร์ทรีย์นั้นจะสร้างสารบางอย่างขึ้นมาในอาหาร ซึ่งสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ตัวอื่นๆได้ ดังนั้นผลของการหมักดองจะทำให้อาหารปลอดภัยจากจุลินทร์ทรีย์ชนิดอื่นๆ และยังทำให้เกิดอาหารชนิดใหม่ๆที่มีลักษณะแตกต่างไปจากเดิม เป็นการเพิ่มกลิ่น และรสชาติของอาหารให้แปลกออกไป

การถนอมอาหารโดยการดองมีหลายวิธีดังนี้

       2.1 การดองเปรี้ยว ผักที่นิยมนำมาดอง เช่น ผักกาดเขียว กะหล่ำปลี ผักเสี้ยน ถั่วงอก เป็นต้น วิธีทำคือนำเอาผักมาเคล้ากับเกลือ โดยผสมน้ำเกลือกบน้ำส้มต้มให้เดือด ทิ้งไว้ให้เย็น นำมาเทราดลงบนผักที่เรียงไว้ในภาชนะ เทให้ท่วมผักปิดฝาภาชนะไม่ให้ลมเข้า หมักทิ้งไว้ 4-7 วัน ก็นำมารับประทานได้



       2.2 การดอง รส คือ รสเปรี้ยว เค็ม หวาน ผักที่นิยมดองแบบนี้คือ ขิงดอง กระเทียมสด ผักกาดเขียน การดองชนิดนี้คือ นำเอาผักมาเคล้ากับเกลือแล้วผสมน้ำส้ม น้ำตาล เกลือ ต้มให้เดือด ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วนำมาเทราดลงบนผักปิดฝาทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน ก็นำมารับประทานได้



    2.3 การดองหวาน ผักและผลไม้ที่นิยมนำมาดอง เช่น มะละกอ หัวผักกาด กะหล่ำปลี เป็นต้น โดยต้มน้ำตาล น้ำส้มสายชู เกลือ ให้ออกรสหวานนำให้เดือดทิ้งไว้ให้เย็น เทราดลงบนผักผลไม้ ทิ้งไว้ 2-3 วัน ก็นำมารับประทานได้


   2.4 การดองเค็ม อาหารที่นิยมส่วนใหญ่จะเป็นพวกเนื้อสัตว์และผัก เช่น ปูเค็ม ปลาเค็ม กะปิ หัวผักกาดเค็ม ไข่เค็ม เป็นต้น ต้มน้ำส้มสายชูและเกลือให้ออกรสเค็มจัดเล็กน้อยให้เดือดทิ้งไว้ให้เย็น กรองใส่ภาชนะที่จะบรรจุอาหารดอง แล้วหมักทิ้งไว้ 4-9 เดือนจึงนำมารับประทาน


     2.5 การหมักดองที่ทำให้เกิดแอลกอฮอล์ คือการหมักอาหารพวกแป้ง น้ำตาล โดยใช้ยีสต์เป็นตัวช่วยให้เกิดแอลกอฮอล์ เช่น ข้าวหมาก ไวน์ เป็นต้น


 การถนอมอาหารโดยการเชื่อม

        การเชื่อมและการกวนเป็นวิธีถนอมอาหารโดยอาศัยสารน้ำตาลป้องกันไม่ให้อาหารนั้น เกิดการเปลี่ยนแปลงบูดเน่าเสียหาย

การถนอมอาหารโดยการเชื่อม วิธี ดังนี้ 

        3.1 การเชื่อมแบบธรรมดา อาจเคี่ยวจนน้ำเชื่อมข้นเหนียว น้ำเชื่อมแทรกซึมเข้าในเนื้อของสิ่งที่เชื่อมแล้วใช้น้ำเชื่อมที่เหลือแช่หล่อไว้อีกชั้นหนึ่ง เช่น กล้วยเชื่อม สาเกเชื่อม ลูกตาลเชื่อม ขนุนเชื่อม เป็นต้น หรืออาจเคี่ยวต่อไปจนน้ำเชื่อมแก่จัด เมื่อเย็นลงจะแห้งและแข็งตัว



        3.2 การถนอมอาหารด้วยการแช่อิ่ม  เป็นการถนอมอาหารโดยใช้น้ำตาลปริมาณมาก คือ นำอาหารมาแช่ในน้ำเชื่อม และเปลี่ยนเพิ่มความเข้มข้นจนถึงจุดอิ่มตัวแล้วนำมาทำแห้ง มักใช้กับผลไม้ที่มีรสขม รสขื่น หรือรสเปรี้ยวจัด ทำให้สิ่งนั้นรสจืดลงเสียก่อนโดยวิธีต่าง ๆ เช่น แช่น้ำเกลือ แช่น้ำปูน แช่สารส้ม เป็นต้น  ผลไม้ที่นิยมนำมาแช่อิ่ม เช่น มะม่วง มะขาม มะกอก มะยม เป็นต้น




         4.การถนอมอาหารด้วยวิธีการกวน คือ การที่นำเนื้อผลไม้ที่สุกแล้วผสมกับน้ำตาลโดยใช้ความร้อนเพื่อกวนผสมให้กลมกลืนกันโดยมีรสหวานและให้เข้มข้นขึ้น              
การใส่น้ำตาลในการกวนมี  วิธี คือ ใส่น้ำตาลแต่น้อยใช้กวนผลไม้ เพื่อทำแยม เยลลี่ เป็นต้น และการกวนโดยใช้ปริมาณน้ำตาลมาก เช่น การกวนผลไม้แบบแห้ง เช่น กล้วยกวน สับปะรดกวน ทุเรียนกวน เป็นต้น


      5. การทำแยม 
การทำแยม เป็นการต้มเนื้อผลไม้ปนกับน้ำตาลด้วยไฟอ่อนในระยะแรก แล้วค่อย ๆ เพิ่มไฟขึ้นทีละน้อย หมั่นคนสม่ำเสมอ จนกระทั่งแยมเหนียวตามต้องการ กล่าวคือ เมื่อใช้ช้อนตักขึ้นแล้ว


      6. การรมควัน
 การรมควันเป็นการถนอมอาหารที่ต่างไปจากการ ตากแห้งธรรมดา นอกจากจะทำให้อาหารแห้งแล้ว ยังช่วยรักษาให้อาหารเก็บได้นาน มีกลิ่นหอมและรสชาติแปลกซึ่งเป็นที่นิยมกันมาก การรมควันที่สามารถทำได้ในครอบครัวจะเป็นแบบธรรมชาติิโดยการสุมไฟด้วยไม้กาบมะพร้าว ขี้เลื่อย ซางข้าวโพด ให้แขวนอาหารไว้เหนือกองไฟใช้ไฟอ่อนๆเพื่อให้รมควันอาหารไปพร้อมกับไอร้อนจะช่วยทำให้อาหารแห้งเร็ว เช่น รมควันปลา เป็นต้น


      วิธีถนอมอาหารต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว ล้วนเป็นภูมิปัญญาไทยที่ทุกครัวเรือนสามารถทำเองได้ และช่วยสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวอีกด้วย

ที่มา  http://signuphowto.blogspot.com